หน้าเว็บ

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (Word Class Standard)

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            การตั้งถิ่นฐานของชนพื้นเมืองก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ายึดครอง เชื่อกันว่าชาวอินเดียนแดงได้อพยพมาจากทวีปเอเชีย 
            โดยเดินทางข้ามช่องแคบเบริ่ง เร่ร่อนจากทวีปอเมริกาเหนือลงสู่ ทวีปอเมริกาใต้ และมาตั้งหลักแหล่งอย่างมั่นคงบริเวณเทือกเขาแอนดีส 
            มีหลักฐานที่เด่นชัดคือซากเมือง มาชู ปิกชู Machu Piachu ของอาณาจักรอินคา บริเวณประเทศเปรู 
            นับตั้งแต่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานยุคแรกเมื่อ 20,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ดำรงชีพด้วยการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติ ล่าสัตว์ เก็บของป่ากิน 
            จนถึงยุคการปลูกพืชพรรณและเลี้ยงสัตว์ กลายเป็นการวางรากฐานด้านเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ 
            รวมทั้งการก่อตั้งหมุ่บ้านและสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของมนุษย์ในสมัยนั้น 
            เมื่อ 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช ดินแดนอันกว้างใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายชนิด ตามลักษณะภูมิอากาศ เช่น มันฝรั่ง ฮอลลูโก กวีนัว กีวีชา ฟักทอง ฝ้ายพริก ข้าวโพด ฯลฯ
            ในยุคเปรูโบราณ ลามา อัลปาก้า และวิกูญา เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ สัตว์เหล่านี้ให้เส้นใยสำหรับเสื้อผ้าอันอบอุ่น เนื้อสัตว์สำหรับประกอบอาหาร หนังและกระดูกสำหรับทำเครื่องมือต่าง ๆ หยดน้ำมันสำหรับให้ความร้อนและพลังงาน และทำให้ผู้คนขนส่งสินค้าไปในระยะไกล ๆ ได้ 
            เมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตศักราช สัตว์เหล่านี้ทำให้คนสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่เปราะบางที่สุดของเทือกเขาแอนดีส ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 4,200 เมตร 
            ที่ซึ่งยากแก่การทำสวนไร่นาและชีวิตความเป็นอยู่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ไปมา ทำให้เข้าถึงระบบนิเวศวิทยาที่หลากหลาย พร้อมทั้งแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ที่เติมให้สมบูรณ์ 
            ขณะที่วัฒนธรรมภาคพื้นค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกัน เทคนิคใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมา เช่น การทอเส้นใย การทำโลหะผสมและการทำอัญมณี ทำให้วัฒนธรรมระดับสูงเกิดขึ้น เช่น
ชาแวง ( 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
พารากัส ( 700 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
โมช ( 100 ปีหลังคริสตศักราช ),
นาซก้า ( 300 ปีหลังคริสตศักราช ),
วารี ( 600 ปีหลังคริสศักราช ),
ชิมู ( 700 ปีหลังคริสตศักราช ),
ชาชาโปยาส ( 800 ปีหลังคริสตศักราช )
และอาณาจักรอินคา 1,500 ปีหลังคริสตศักราช
            ชาวอินคาบูชาเทพเจ้าแห่งผืนดินปาชามามาและเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์อินติ อำนาจอธิปไตยของชาวอินคาคือ ผู้นำสูงสุดของทาวันทินซูยู (อาณาจักรอินคา) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งซึ่งได้รับตกทอดมาจากอินติ 

            ในยุคที่เฟื่องฟูสูงสุดชาวอินคาได้สร้างงานทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่น่าประทับใจ ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันนี้คือซากเมืองคุชโก เมืองหลวงของอาณาจักรอินคาแห่งนี้และพื้นที่รอบ ๆ เช่น ป้อมซัคเซย์วาแมน และป้อมมาชูปิกชู
            เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส Christopher Columbus ชาวอิตาเลียน เดินทางสำรวจพบทวีปอเมริกา ใน ค.ศ. 1492 แล้ว ชาวยุโรปก็สนใจที่จะแล่นเรือมาทางทิศตะวันตกเพิ่มมากขึ้น 
            ในปี ค.ศ. 1499 นักเดินเรือชาวอิตาลียน ชื่อ อเมริโก เวสปุกชี Americo Vespucci เดินทางสำรวจให้กับสเปน ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งประเทศเวเนสุเอลา ทะเลสาบมาราไคโบ 
            พบเห็นบ้านเรือนของชนพื้นเมืองก่อตั้งอยู่ริมน้ำ คล้ายหมู่บ้านของชาวเวนิส จึงเรียกดินแดนที่เขาพบนี้ว่า เวเนสุเอลา ซึ่งหมายถึง เวนิสน้อย 

            ในปี ค.ศ. 1500 นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร อัลวาเรส คาบรัล Pedro Alvares Cabral ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศบราซิล 
            หลังจากนั้นชาวโปรตุเกสก็เข้ายึดครองทางด้านตะวันออกของทวีป ส่วนสเปนก็เข้าสำรวจทางด้านตะวันตกจากภาคเหนือสู่ภาคใต้ ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่การก่อตั้งอาณานิคมของชาวสเปนหลายแห่ง

            เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1492 โคลัมบัสได้รับการแต่งตั้งจาก พระนางเจ้าอีสเบลลา แห่งสเปน ให้เป็นผู้สำเร็จราชการครอบครองหมู่เกาะอินดิสตะวันตก
ค.ศ. 1519 เฮอร์นาน คอร์เตส Hernan Cortes ได้พิชิตอาณาจักรแอชเต็ก ในเม็กซิโก
            ค.ศ. 1531 ฟรานซีสโก ปิซาโร Francisco Pizarro เข้าสำรวจพบอาณาจักรอินคา และทำสงครามกับชาวอินคา นาน 5 ปีสามารถปราบอาณาจักรอินคาได้
            ค.ศ. 1541 เปโดร เดอ วัลดิเวีย Pedro de Valdivia นำทหารสเปนเข้าครอบครอง ดินแดนชิลีได้สำเร็จ

            ดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ตกเป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ยกเว้น 
กายอานาและฟอร์กแลนด์ เป็นของสหราชอาณาจักร
เฟรนซ์กิอานา เป็นของฝรั่งเศส
สุรินาเม เป็นของเนเธอร์แลนด์

การประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้

            ด้วยเหตุที่อาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือได้ประกาศเอกราช ตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา 
            จึงเป็นตัวอย่างที่ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ต้องการเอกราช โดยเริ่มจากชาวอาณานิคมในเมืองคารากัส ได้ก่อการกบฏขึ้นในปี ค.ศ. 1810 ขับไล่แม่ทัพของสเปน ออกไป และตั้งคณะกรรมการขึ้นปกครองตนเอง 
            โดยมีผู้นำในอาณานิคมหลายคน ที่ต้องการปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ให้เป็นอิสระ เช่น
            ในปี ค.ศ. 1818 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน Jose de San Martin เป็นผู้นำในการปลดปล่อย ในอาร์เจนตินาและชิลี ให้เป็นเอกราช
            ในปี ค.ศ. 1821 ซิมอน โบลิวาร์ Simon Bolivar เป็นผู้นำในการปลดปล่อย เอกวาดอร์ และเวเนสุเอลา ได้สำเร็จ
            ในปี ค.ศ. 1822 โอรสของกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ก็ประกาศบราซิลให้เป็นเอกราช โดยมีพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ ค.ศ. 1889 ทหารเข้ายึดอำนาจล้มระบอบกษัตริย์เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก
            วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่างๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย 
            โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง

            1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทย มีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
            สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น

2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะ
มิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา

4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น

5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา

6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น

            2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

            ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน 
 ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  “บางกอกรีคอร์เดอร์”  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์ โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา

 5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

ความหมาย-ประเภทชาดก

ความหมาย - ประเภทชาดก

        ชาดก แปลว่า ประวัติการทำความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีมาในชาติก่อน ๆ
        นิทาน ตามพจนานุกรม มาจาก (มค. นิทาน) น. เหตุ ; เรื่องเดิม ; คำเล่าเรื่อง, เรื่องนิยาย
นิทาน แปลว่า เหตุเป็นเครื่องมอบให้ซึ่งผล, มูลเค้า, เรื่องเดิม, สมุฏฐาน 
        ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
        กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดี ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้    
        นิทานชาดก   มิใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อสอนคุณธรรม แต่นิทานชาดก  คือ  เรื่องในอดีตชาติของ พระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงแสดงแก่พระภิกษุในโอกาสต่าง ๆ บางครั้งก็เพื่อแสดงภูมิหลังของผู้ที่พระองค์ต้องการแสดงธรรมให้ฟัง บางครั้งก็เพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
        ชาดก   เป็นเรื่องที่มีมาก่อนพุทธกาล  เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์
ชาดกมี 2 ประเภท  คือ

        1. นิบาตชาดก   เป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี 500 เรื่อง   แบ่งออกเป็นหมวดๆ  ตามจำนวนคาถา  

นับตั้งแต่ 1 คาถาถึง 80 คาถา   
ชาดกที่มี 1 คาถาเรียกว่า เอกนิบาต
ชาดกที่มี 2 คาถาเรียกว่า  ทุกนิบาต
ชาดกที่มี  3 คาถาเรียกว่า ตักนิบาต
ชาดกที่มี  4 คาถาเรียกว่า  จตุคนิบาต
ชาดกที่มี  5 คาถาเรียกว่า  ปัญจกนิบาต
        ชาดกที่มีเกิน 80 คาถาขึ้นไปเรียกว่า  มหานิบาตชาดก  ซึ่งมี 10 เรื่อง  เรียก  ทศชาติ  หรือ  พระเจ้าสิบชาติ

        2. ปัญญาสชาติชาดก  คำว่า ปัญญาสชาดก (ปัน-ยาด-สะ-ชา-ดก)  ประกอบด้วยคำว่า ปัญญาส แปลว่า ห้าสิบ กับ คำว่า ชาดก ซึ่งหมายถึงเรื่องราวชีวิตของพระโพธิสัตว์ หรือ พระพุทธเจ้าในอดีตชาติ
        ก่อนที่จะทรงบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ๕๐ เรื่อง เขียนเป็นภาษาบาลี เป็นชีวิตของพระโพธิสัตว์ในพระชาติต่าง ๆ ที่ได้บำเพ็ญบารมี คือ ทำความดีด้วยประการต่าง ๆ อย่างแน่วแน่ 
        เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและบำเพ็ญเพียรเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากต่าง ๆ  การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ 
        เป็นตัวอย่างให้พุทธศาสนิกชนได้ทำตาม คิดตาม ยึดถือตาม เพื่อให้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับชีวิต และพยายามหาวิธีพ้นจากความทุกข์ได้อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม   
        ปัญญาสชาติชาดก   ที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมืองนี้  ไม่มีในพระไตรปิฎก  หรือเรียกว่า  ชาดกนอกนิบาต มีจำนวน 50 เรื่อง  
        พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณ  พ.ศ. 2000-2200  เป็นภาษามคธ โดยเลียนแบบนิบาตชาดก  
        ครั้นเมื่อ  พ.ศ.2443-2448  พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์  ดำรงตำแหน่งองค์สภานายก  หอพระสมุดสำหรับพระนคร  ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย  เรื่องปัญญาสชาดกจึงแพร่หลาย



องค์ประกอบของชาดก 
        ชาดกทุกเรื่องจะมีองค์ประกอบ 3 ประเภท  คือ
        1. ปรารภเรื่อง  คือบทนำเรื่องหรือ  อุบัติเหตุ  จะกล่าวถึงมูลเหตุหรือที่มาของชาดกเรื่องนั้น  เช่น  มหาเวสสันดรชาดก
        2. อดีตนิทาน  หรือ  ชาดก  หมายถึงเรื่องราวนิทานที่พระพุทธองค์ตรัสเล่า
        3. ประชุมชาดก  ประมวลชาดก  เป็นเนื้อความสุดท้ายของชาดกกล่าวถึงบุคคลในชาดก  คือผู้ใดที่กลับชาติเป็นใครบ้างในปัจจุบัน

องค์ประกอบของชาดก

องค์ประกอบของชาดก 
        ชาดกทุกเรื่องจะมีองค์ประกอบ 3 ประเภท  คือ
        1. ปรารภเรื่อง  คือบทนำเรื่องหรือ  อุบัติเหตุ  จะกล่าวถึงมูลเหตุหรือที่มาของชาดกเรื่องนั้น  เช่น  มหาเวสสันดรชาดก
        2. อดีตนิทาน  หรือ  ชาดก  หมายถึงเรื่องราวนิทานที่พระพุทธองค์ตรัสเล่า
        3. ประชุมชาดก  ประมวลชาดก  เป็นเนื้อความสุดท้ายของชาดกกล่าวถึงบุคคลในชาดก  คือผู้ใดที่กลับชาติเป็นใครบ้างในปัจจุบัน

การบำเพ็ญทุกรกิริยา

 การบำเพ็ญทุกรกิริยา

        การบำเพ็ญทุกรกิริยา  หมายถึง กิริยาที่ทำได้ยาก  อาทิ การลดปริมาณในการรับประทานอาหาร จนถึงขั้นไม่รับประทานเลย  การกลั้นลมหายใจ การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนด้วยวิธีต่างๆ เป็นวิธีของโยคี 
        หลังจากโยคีสิทธัตถะทรงศึกษาจากสำนักอุทกดาบส รามบุตร และอุทกดาบสจนสำเร็จสมาบัติ 7 จากสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และสมาบัติ 8 แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าวิชาที่ศึกษามายังมิใช่หนทางแห่งโพธิญาณ จึงอำลาออกจากสำนัก 

        เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัย ที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง แทนที่จะ ทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ทั้งสองแล้ว 
        พระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา  ณ บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก 
        พระองค์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย ร่างกายซูบผอม พระโลมา ( ขน ) มีรากเน่าหลุดออกมา แลเห็นพระอัฐิได้ชัดเจนทั่วพระวรกาย การกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ 
        ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาติดต่อกันเป็นเวลานาน 6 ปี จนมีพระวรกายผ่ายผอมแต่ก็ยังคงไม่ได้พบหนทางหลุดพ้นจากทุกข์ได้ 
        เพราะเป็นการปฏิบัติฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค ในที่สุดพระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา 
        แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง จะได้มี กำลังในการคิดค้นพบวิธีใหม่ 
        ขณะที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่นั้น ปัญจวัคคีย์ คอยปรนนิบัติรับใช้ ด้วยความหวังว่า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พวกตนจะได้รับการถ่ายทอดโมกขธรรมบ้าง 
        เมื่อพระองค์ล้มเลิก การบำเพ็ญ   ทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งพระองค์ไปทั้งหมด 
        เป็นผลทำให้พระองค์ได้อยู่ตามลำพังในที่สงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง พวกปัญจวัคคีย์ได้หนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี 
        พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติและเดินทางสายกลาง คือ การปฏิบัติในความพอเหมาะพอควรหรือเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

นันทิวิสาลชาดก

นันทิวิสาลชาดก

        ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีภิกษุ ๖ รูป เรียกว่า พระฉัพพัคคีย์ เป็นผู้ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติธรรม ชอบก่อกวน กลั่นแกล้ง หาเรื่องทะเลาะวิวาท พูดจาข่มขู่ เสียดสีภิกษุอื่นๆ อยู่เสมอ 
        จนกระทั่งความทราบถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงกล่าวตำหนิโทษพระฉัพพัคคีย์ 
        แล้วตรัสให้โอวาทว่า “ผู้กล่าววาจาหยาบคาย ย่อมนำความฉิบหายมาให้ตนเอง เพราะเขาย่อมไม่เป็นที่พอใจของใครๆ แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานก็ตาม” 
        แล้วพระพุทธองค์ทรงนำ นันทิวิสาลชาดก มาตรัสเล่าเป็นอุทาหรณ์ สอน ฉัพพัคคีย์ เป็นนิทานมาสาธก ว่า... 
        กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในสมัยของพระเจ้าคันธาระ ครองเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นโคนามว่า นันทิวิสาล 
        เป็นโคมีรูปร่างสวยงาม มีพละกำลังมาก มีพราหมณ์คนหนึ่งได้เลี้ยงและรักโคนั้นเหมือนลูกชาย โคนั้นคิดจะตอบแทนบุญคุณการเลี้ยงดูของพราหมณ์ในวันหนึ่ง ได้พูดกะพราหมณ์ว่า  
        "พ่อ จงไปท้าพนันกับโควินทกเศรษฐีว่า โคของเราสามารถลากเกวียนหนึ่งร้อยเล่ม ที่ผูกติดกันให้เคลื่อนไหวได้ พนันด้วยเงินหนึ่งพันกหาปณะเถิด" 

        พราหมณ์ได้ไปที่บ้านเศรษฐี และตกลงกันตามนั้น นัดเดิมพันกันในวันรุ่งขึ้น ในวันเดิมพัน 
        พราหมณ์ได้เทียมโคนันทวิสาล เข้าที่เกวียนเล่มแรก เพื่อลากเกวียนหนึ่งร้อยเล่มผูกติดกัน ซึ่งบรรทุกทราย กรวดและหินเต็มลำ แล้วขึ้นไปนั่งบนเกวียน เงื้อปฏักขึ้นพร้อมกับตวาดว่า 
      "ไอ้โคโกง โคโง่ เจ้าจงลากเกวียนไปเดี๋ยวนี้
ฝ่ายโคนันทิวิสาลเมื่อได้ยินพราหมณ์พูดเช่นนั้น ก็คิดน้อยใจว่า 
      "พราหมณ์เรียกเราผู้ไม่โกง ว่าโกง ผู้ไม่โง่ ว่าโง่" 

        จึงยืนนิ่งไม่เคลื่อนไหว โควินทกเศรษฐี จึงเรียกให้พราหมณ์นำเงินหนึ่งพันกหาปณะมาให้แล้วกลับบ้านไป
        ฝ่ายพราหมณ์ผู้แพ้พนันเงินหนึ่งพันกหาปณะ ปลดโคแล้วก็เข้าไปนอนเศร้าโศกเสียใจอยู่ในบ้าน ส่วนโคนันทิวิสาลเห็นพราหมณ์เศร้าโศกเสียใจเช่นนั้น จึงเข้าไปปลอบและกล่าวว่า 

สุวัณณหังสชาดก

สุวัณณหังสชาดก

        ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุณีชื่อ ถุลลนันทา ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคกระเทียม สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
        กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง มีภรรยาและลูกสาว ๓ คน ชื่อ นันทา นันทวดี และสุนันทา พอลูกสาวทั้ง ๓ ได้สามีแล้วทุกคน พราหมณ์ก็เสียชีวิตไปเกิดเป็นหงส์ทองคำระลึกชาติได้
        วันหนึ่งได้เห็นความลำบากของนางพราหมณีและลูกสาวของตนที่ต้องรับจ้างคนอื่นเลี้ยงชีพ จึงเกิดความสงสาร ได้โผบินไปจับที่บ้านนางพราหมณี
        แล้วเล่าเรื่องราวให้นางพราหมณีและลูกสาวฟัง และได้สลัดขนให้แก่พวกเขาเหล่านั้นคนละหนึ่งขนแล้วก็บินหนีไป 
        หงส์ทองได้มาเป็นระยะๆ มาครั้งใดก็สลัดขนให้ครั้งละหนึ่งขนโดยทำนองนี้ นางพราหมณีและลูกสาวจึงร่ำรวยและมีความสุขไปตามๆ กัน
        ต่อมาวันหนึ่งนางพราหมณีเกิดความโลภอยากได้มากกว่าเดิมจึงปรึกษากับลูกๆ ว่า
      "ถ้าหงส์มาครั้งนี้ พวกเราจะจับถอนขนเสียให้หมด เพื่อจะได้มีทรัพย์สมบัติมาก"
        พวกลูกๆ ไม่เห็นดีด้วย แต่นางพราหมณีไม่สนใจ ครั้งวันหนึ่งพญาหงส์ทองมาอีก นางก็ได้จับถอนขนเสียให้หมด 
        ขนเหล่านั้นกลายเป็นขนนกธรรมดาเท่านั้น เพราะพญาหงส์ทองมิได้ให้ด้วยความสมัครใจ 
        นางพราหมณีได้เลี้ยงหงส์นั้นจนขนงอกขึ้นมาใหม่เต็มตัว หงส์ก็ได้บินหนีไปโดยไม่ได้กลับมาอีกเลย
        พระพุทธองค์ เมื่อนำอดีตนิทานมาสาธกแล้ว ได้ตรัสพระคาถาว่า
     
"บุคคลได้สิ่งใดควรยินดีสิ่งนั้น เพราะความโลภเกินประมาณเป็นความชั่วแท้ นางพราหมณีจับเอาพญาหงส์ทองแล้วจึงเสื่อมจากทองคำ"