หน้าเว็บ

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (Word Class Standard)

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การบำเพ็ญทุกรกิริยา

 การบำเพ็ญทุกรกิริยา

        การบำเพ็ญทุกรกิริยา  หมายถึง กิริยาที่ทำได้ยาก  อาทิ การลดปริมาณในการรับประทานอาหาร จนถึงขั้นไม่รับประทานเลย  การกลั้นลมหายใจ การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนด้วยวิธีต่างๆ เป็นวิธีของโยคี 
        หลังจากโยคีสิทธัตถะทรงศึกษาจากสำนักอุทกดาบส รามบุตร และอุทกดาบสจนสำเร็จสมาบัติ 7 จากสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และสมาบัติ 8 แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าวิชาที่ศึกษามายังมิใช่หนทางแห่งโพธิญาณ จึงอำลาออกจากสำนัก 

        เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัย ที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง แทนที่จะ ทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ทั้งสองแล้ว 
        พระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา  ณ บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก 
        พระองค์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย ร่างกายซูบผอม พระโลมา ( ขน ) มีรากเน่าหลุดออกมา แลเห็นพระอัฐิได้ชัดเจนทั่วพระวรกาย การกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ 
        ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาติดต่อกันเป็นเวลานาน 6 ปี จนมีพระวรกายผ่ายผอมแต่ก็ยังคงไม่ได้พบหนทางหลุดพ้นจากทุกข์ได้ 
        เพราะเป็นการปฏิบัติฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค ในที่สุดพระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา 
        แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง จะได้มี กำลังในการคิดค้นพบวิธีใหม่ 
        ขณะที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่นั้น ปัญจวัคคีย์ คอยปรนนิบัติรับใช้ ด้วยความหวังว่า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พวกตนจะได้รับการถ่ายทอดโมกขธรรมบ้าง 
        เมื่อพระองค์ล้มเลิก การบำเพ็ญ   ทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งพระองค์ไปทั้งหมด 
        เป็นผลทำให้พระองค์ได้อยู่ตามลำพังในที่สงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง พวกปัญจวัคคีย์ได้หนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี 
        พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติและเดินทางสายกลาง คือ การปฏิบัติในความพอเหมาะพอควรหรือเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น