หน้าเว็บ

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (Word Class Standard)

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความหมาย-ประเภทชาดก

ความหมาย - ประเภทชาดก

        ชาดก แปลว่า ประวัติการทำความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีมาในชาติก่อน ๆ
        นิทาน ตามพจนานุกรม มาจาก (มค. นิทาน) น. เหตุ ; เรื่องเดิม ; คำเล่าเรื่อง, เรื่องนิยาย
นิทาน แปลว่า เหตุเป็นเครื่องมอบให้ซึ่งผล, มูลเค้า, เรื่องเดิม, สมุฏฐาน 
        ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
        กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดี ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้    
        นิทานชาดก   มิใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อสอนคุณธรรม แต่นิทานชาดก  คือ  เรื่องในอดีตชาติของ พระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงแสดงแก่พระภิกษุในโอกาสต่าง ๆ บางครั้งก็เพื่อแสดงภูมิหลังของผู้ที่พระองค์ต้องการแสดงธรรมให้ฟัง บางครั้งก็เพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
        ชาดก   เป็นเรื่องที่มีมาก่อนพุทธกาล  เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์
ชาดกมี 2 ประเภท  คือ

        1. นิบาตชาดก   เป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี 500 เรื่อง   แบ่งออกเป็นหมวดๆ  ตามจำนวนคาถา  

นับตั้งแต่ 1 คาถาถึง 80 คาถา   
ชาดกที่มี 1 คาถาเรียกว่า เอกนิบาต
ชาดกที่มี 2 คาถาเรียกว่า  ทุกนิบาต
ชาดกที่มี  3 คาถาเรียกว่า ตักนิบาต
ชาดกที่มี  4 คาถาเรียกว่า  จตุคนิบาต
ชาดกที่มี  5 คาถาเรียกว่า  ปัญจกนิบาต
        ชาดกที่มีเกิน 80 คาถาขึ้นไปเรียกว่า  มหานิบาตชาดก  ซึ่งมี 10 เรื่อง  เรียก  ทศชาติ  หรือ  พระเจ้าสิบชาติ

        2. ปัญญาสชาติชาดก  คำว่า ปัญญาสชาดก (ปัน-ยาด-สะ-ชา-ดก)  ประกอบด้วยคำว่า ปัญญาส แปลว่า ห้าสิบ กับ คำว่า ชาดก ซึ่งหมายถึงเรื่องราวชีวิตของพระโพธิสัตว์ หรือ พระพุทธเจ้าในอดีตชาติ
        ก่อนที่จะทรงบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ๕๐ เรื่อง เขียนเป็นภาษาบาลี เป็นชีวิตของพระโพธิสัตว์ในพระชาติต่าง ๆ ที่ได้บำเพ็ญบารมี คือ ทำความดีด้วยประการต่าง ๆ อย่างแน่วแน่ 
        เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและบำเพ็ญเพียรเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากต่าง ๆ  การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ 
        เป็นตัวอย่างให้พุทธศาสนิกชนได้ทำตาม คิดตาม ยึดถือตาม เพื่อให้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับชีวิต และพยายามหาวิธีพ้นจากความทุกข์ได้อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม   
        ปัญญาสชาติชาดก   ที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมืองนี้  ไม่มีในพระไตรปิฎก  หรือเรียกว่า  ชาดกนอกนิบาต มีจำนวน 50 เรื่อง  
        พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณ  พ.ศ. 2000-2200  เป็นภาษามคธ โดยเลียนแบบนิบาตชาดก  
        ครั้นเมื่อ  พ.ศ.2443-2448  พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์  ดำรงตำแหน่งองค์สภานายก  หอพระสมุดสำหรับพระนคร  ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย  เรื่องปัญญาสชาดกจึงแพร่หลาย



องค์ประกอบของชาดก 
        ชาดกทุกเรื่องจะมีองค์ประกอบ 3 ประเภท  คือ
        1. ปรารภเรื่อง  คือบทนำเรื่องหรือ  อุบัติเหตุ  จะกล่าวถึงมูลเหตุหรือที่มาของชาดกเรื่องนั้น  เช่น  มหาเวสสันดรชาดก
        2. อดีตนิทาน  หรือ  ชาดก  หมายถึงเรื่องราวนิทานที่พระพุทธองค์ตรัสเล่า
        3. ประชุมชาดก  ประมวลชาดก  เป็นเนื้อความสุดท้ายของชาดกกล่าวถึงบุคคลในชาดก  คือผู้ใดที่กลับชาติเป็นใครบ้างในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น